เมนู

โรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด. ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง.
ธรรม 8 อย่างเหล่านี้ จริงแท้แน่นอน ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถา-
คตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 9



[454] ธรรม 9 อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม 9 อย่าง ควร
เจริญ ธรรม 9 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 9 อย่าง ควรละ ธรรม 9 อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 9 อย่าง เป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม
9 อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม 9 อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 9 อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม 9 อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[455] ธรรม 9 อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ธรรมมี
โยนิโสมนสิการเป็นมูล 9 คือ เมื่อกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ปราโมทย์
ย่อมเกิด ปีติย่อมเกิดแก่ผู้มีปราโมทย์ กายของผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบ เสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้
ย่อมเห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย เมื่อ
หน่าย ย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเพราะคลายกำหนัด ธรรม 9 อย่าง
เหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[456] ธรรม 9 อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่องค์เป็นที่ตั้ง
แห่งความบริสุทธิ์ 9 อย่าง คือ ศีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
เป็นองค์ เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต . . .

ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ. . . กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่ง
ญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย . . .มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความ
หมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง . . .ปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ. . .ญาณทัสสน-
วิสุทธิ ความหมดแห่งญาณทัสสนะ . . . ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่ง
ปัญญา ...วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความหลุดพ้น เป็นองค์ เป็นที่ตั้ง
แห่งความบริสุทธิ์. ธรรม 9 อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[457] ธรรม 9 อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ สัตตาวาส
9 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีปัญญาต่างกัน
เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกบางพวก นี้ก็เป็นสัตตาวาส
ข้อที่หนึ่ง สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนพวก
เทพนับเนื่องในหมู่พรหม เกิดในปฐมฌาน นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่สอง.
สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนพวกเทพอาภัส-
สรา นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่สาม. สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มี
สัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนพวกเทพสุภกิณหา นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่สี่
สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนพวกเทพอสัญญีสัตว์ นี้ก็
เป็นสัตตาวาสข้อที่ห้า. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่
กระทำนานัตตสัญญาไว้ในใจ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุด
นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่หก. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากาสานัญจายตนะ โดย
ประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้ก็เป็น
สัตตาวาสข้อที่เจ็ด. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการ

ทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไร นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่แปด
สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนว-
สัญญานาสัญญายตนะว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นี้ก็เป็นสัตตาวาส
ข้อที่เก้า. ธรรม 9 อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[458] ธรรม 9 อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ธรรมมีตัณหา
เป็นมูล 9 คือ การแสวงหาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยตัณหา ลาภย่อมเป็นไป
เพราะอาศัยการแสวงหา ความตกลงใจย่อมเป็นไปเพราะอาศัยลาภ
ความกำหนดด้วยความพอใจ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตกลงใจ ความ
พอใจ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ ความหวงแหน
ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความพอใจ ความตระหนี่ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัย
ความหวงแหน การรักษาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตระหนี่ อกุศลธรรม
อันลามกหลายอย่างคือ การถือไม้ ถือศัสตรา การทะเลาะแก่งแย่งวิวาท
กล่าวส่อเสียดว่า มึง มึง และการพูดเท็จ ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยการ
รักษาเป็นเหตุธรรม 9 อย่างเหล่านี้ ควรละ
[459] ธรรม 9 อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต 9 คือ บุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้
จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ย่อม
ผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบ

ของเราอยู่. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเรา. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งเป็น
ประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า
ผู้นี้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอยู่. ย่อม
ผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่
ชอบใจของเรา. ธรรม 9 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม
[ 460 ] ธรรม 9 อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน ได้แก่
ความกำจัดความอาฆาต 9 คือบุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตว่าคือ ผู้นี้ได้
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่
ที่ไหน. ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
อยู่ ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน. ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้
จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที
ไหน. ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้
เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเราแล้ว ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบใจของเราอยู่ ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน. ย่อมกำจัดความ
อาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเรา
ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน.
บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์
แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่
ไหน. ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็น

ที่รัก ที่ชอบใจ ของเราอยู่ ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน.
ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ จักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน.
ธรรม 9 อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ
[461] ธรรม อย่างแทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ นานัตตะ
9 คือ ผัสสะต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยธาตุต่างกัน เวทนาต่างกัน ย่อม
เกิดเพราะอาศัยผัสสะต่างกัน สัญญาต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยเวทนา
ต่างกัน ความดำริต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยสัญญาต่างกัน ความพอใจ
ต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยความดำริต่างกัน ความเร่าร้อนต่างกัน ย่อม
เกิดเพราะอาศัยความพอใจต่างกัน การแสวงหาต่างกัน ย่อมเกิดเพราะ
อาศัยความเร่าร้อนต่างกัน ความอยากได้ต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยการ
แสวงหาต่างกัน. ธรรม 9 อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก.
[ 962 ] ธรรม 9 อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่สัญญา
9 คือ อสุภสัญญากำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย มรณสัญญา กำหนด
หมายในความตาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในอาหารว่า เป็น
ปฏิกูล สัพพโลเกอนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่ายินดี ในโลก
ทั้งปวง อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยง อนิจเจ ทุกขสัญญา
กำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ทุกขอันตตสัญญา กำหนดหมาย
ในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ปหานสัญญา กำหนดหมายการละ วิราคสัญญา
กำหนดหมายความคลายกำหนัด ธรรม 9 อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.

[463] ธรรม 9 อย่าง ที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุปุพพ-
วิหาร 9 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร ปีติและสุขเกิดแต่
วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ อนึ่ง เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้มีอุเบกขา
และสติบริสุทธิ์ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กระทำนานัตต-
สัญญาไว้ในใจ โดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนะว่า อากาศ
ไม่มีที่สุดอยู่ ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญ-
จายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่ ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไรอยู่ ล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ล่วงเนวสัญญานา-
สัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. ธรรม 9
อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[464] ธรรม 9 อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุ-
ปุพพนิโรธ 9 คือ เมื่อเข้าปฐมฌาน กามสัญญาดับ เมื่อเข้าทุติยฌาน
วิตกวิจารดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ-
ปัสสาสะดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนะ รูปสัญญาดับ เมื่อเข้าวิญญา-

ญัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนะ
วิญญาณัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญ-
จัญญายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ.
ธรรม 9 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 9 อย่างเหล่านี้ จริง แท้
แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 10



[465] ธรรม 10 อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม 10 อย่าง ควรเจริญ
ธรรม 10 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 10 อย่าง ควรละ ธรรม 10 อย่าง
เป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรม 10 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม 10 อย่าง
แทงตลอดได้ยาก ธรรม 10 อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 10 อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม 10 อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[466] ธรรม 10 อย่าง มีอุปการะมากเป็นๆไฉน. ได้แก่ นาถ-
กรณธรรม 10 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล
สำรวมระวังปาติโมกข์ถึงพร้อมอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษเพียง
เล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุมีศีลสำรวม
ระวังโนปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษ
เพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณ-
ธรรม.